บัว

บัว

ที่มา tourdoi.com

บัว มีหลายชนิด แต่ละชนิดมีหลายสี ชนิดพันธุ์ของบัวจำแนกสายพันธุ์ได้ดังนี้
1.  ปทุมชาติ หรือ บัวหลวง ( Lotus ) จัดอยู่ในสกุล Nelumbo มีแหล่งกำเหนิดในทวีปเอเซีย มีไหลอยู่ใต้ดิน ใบมีขนาดใหญ่ ดอกมีทั้งดอกซ้อนและไม่ซ้อน ใบและดอกชูขึ้นเหนือน้ำ ในประเทศไทยมีอยู่ 4 พันธ์
2.  อุบลชาติ ( Water-lily ) จัดอยู่ในสกุล Nymphaea มีแหล่งกำเหนิดในทวีปเอเซีย มีเหง้าอยู่ใต้ดิน ใบลอยแตะผิวน้ำ รูปร่างใบมีหลายแบบ ก้านใบไม่มีหนาม กลีบดอกมีทั้งดอกซ้อน แบ่งเป็น 2 ประเภท
2.1 อุบลชาติยืนต้น ( Hardy water-lily ) มีถิ่นกำเหนิดในเขตอบอุ่น และเขตหนาว หรือที่เรียกว่า บัวฝรั่ง มีเหง้าเลื้อยไปตามผิวดิน แตกหน่อง่าย ติดเมล็ดยาก พักตัวในฤดูหนาว ขอบใบเรียบ ดอกลอยแตะผิวน้ำหรือชูเหนือน้ำเล็กน้อย ดอกมีหลายสี กลีบดอกซ้อนสวยงามมาก มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปตามลักษณะดอกและสีตามที่ผู้พัฒนาพันธุ์คิดขึ้น ได้แก่
บัวฝรั่งบัวฝรั่งซีรีอุสบัวฝรั่ง
บัวฝรั่งบัวฝรั่งฟาบิโอล่ายิปซี
บัวฝรั่งบัวฝรั่งมังคลอุบล ( มัง คะ ละ อุบล )บัวฝรั่ง
2.2 อุบลชาติล้มลุก ( Tropical water-lily ) มีถิ่นกำเหนิดในเขตร้อน ไม่พักตัวในฤดูหนาว มีเหง้าเจริญเติบโตในแนวดิ่ง ดอกมีหลายสี ใบลอยแตะผิวน้ำ ดอกชูขึ้นเหนือผิวน้ำ ขอบใบจักมน หรือ แหลม แบ่งออกเป็น 4 ชนิด
2.2.1 บัวผันและบัวเผื่อน ( บานกลางวัน ) ดอกมีกลิ่นหอมมาก บานตอนเช้าหุบตอนเย็น ก้านและใบไม่มีขน ดอกมีหลายสี ติดเมล็ดง่าย  ผสมพันธุ์ข้ามระหว่างสีต่างๆ ได้ง่ายทั้งโดยแมลงในธรรมชาติ และโดยฝีมือมนุษย์ บัวชนิดนี้จึงเกิดสีสันต่างๆ มากมาย เป็นที่นิยมปลูกเป็นไม้ประดับกันมาก ราคาถูก ขยายพันธุ์ง่าย ดูแลง่าย ดอกกหอมมาก
บัวลูกผสมตระกูลบัวผัน-บัวเผื่อนบัวลูกผสมตระกูลบัวผัน-บัวเผื่อนฉลองขวัญบัวลูกผสมตระกูลบัวผัน-บัวเผื่อน
บัวลูกผสมตระกูลบัวผัน-บัวเผื่อนบัวลูกผสมตระกูลบัวผัน-บัวเผื่อนบัวลูกผสมตระกูลบัวผัน-บัวเผื่อนบัวนางกวักชมพู
บัวลูกผสมตระกูลบัวผัน-บัวเผื่อนบัวลูกผสมตระกูลบัวผัน-บัวเผื่อนบัวลูกผสมตระกูลบัวผัน-บัวเผื่อนบัวลูกผสมตระกูลบัวผัน-บัวเผื่อน
ไจแกนเตีย ไวโอลาเซียบัวลูกผสมตระกูลบัวผัน-บัวเผื่อนบัวลูกผสมตระกูลบัวผัน-บัวเผื่อนบัวลูกผสมตระกูลบัวผัน-บัวเผื่อน
2.2.2 บัวสาย ( บานกลางคืน ) เป็นบัวที่ชาวบ้านนิยมเก็บสายบัวมาประกอบอาหาร บานตอนใกล้ค่ำและหุบตอนเช้า บางชนิดไม่หอม บางชนิดหอมอ่อนๆ บัวชนิดนี้มีก้านใบและก้านดอกยาวสามารถขึ้นอยู่ได้ในระดับน้ำลึกๆ ได้  พบเห็นได้ทั่วไปตามหนองบึงและในแหล่งน้ำธรรมชาติตามชนบท แตกกอง่ายและมีหัวอยู่ใต้ดิน ในฤดูแล้งที่น้ำแล้งก็โทรมไปแต่หัวยังฝังอยู่ในดิน เมื่อฤดูฝนมีน้ำมาก็จะแตกใบขึ้นมาใหม่เต็มหนองบึง ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาจนเกิดสีสันและพันธุ์ใหม่ขึ้นมาอีกหลายชนิด และยังจะมีพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นเรื่อยๆ 
เศวตอุบล หรือ โกมุทชมพูซีลอนปริมลาภมิชซิสจีซีฮิทธ์คอด
บัวสายใหญ่สัตตบรรณ หรือ บัวแดงบัวสายธัญกาฬ
2.2.3 จงกลนี เป็นบัวพันธุ์ใหม่ที่พบในธรรมชาติคาดว่าเกิดจากการแปลงพันธุ์ในธรรมชาติ ใบเหมือนบัวตระกูลบัวผัน บัวเผื่อน แต่ดอกซ้อนเหมือนบัวฝรั่ง มีเหง้าใต้ดิน เหง้าเจริญในแนวดิ่ง ต้นอ่อนจะเกิดจากเหง้าใต้ดินเจริญเติบโตขึ้นมาจากโคนต้นแม่ ใบลอยลอยแตะผิวน้ำ ดอกลอยแตะผิวน้ำเล็กน้อย ก้อนใบก้านดอกยาวและอ่อนควรปลูกในที่ระดับน้ำลึก  ดอกบานแล้วบานเลยจะไม่หุบจนกว่าจะโรยไป ประมาณ 3 วัน จงกลนีเป็นบัวที่มีกลีบดอกเยอะแต่สีสันยังไม่สวยและที่กลีบดอกมีสีเขียวดูเปรอะ กลีบดอกเรียงตัวไม่เป็นระเบียบ 
บัวจงกลนีดอกบัวจงกลนีดอกบัวจงกลนีเมื่อตูม ดอกบัวจงกลนีกำลังจะบาน
3. บัวกระด้ง หรือ บัววิคตอเรีย ( Royal water-lily, Victoria ) บัวใบใหญยักษ์ ขอบใบยกตัวขึ้นคล้ายกระด้ง ลอยบนผิวน้ำ ใบ ก้านใบ ก้านดอกมีหนามแหลมอยู่ทั่ว ดอกสีขาว และ สีชมพู ดอกมีกลิ่นหอมแรง บานตอนกลางคืนและหุบในตอนเช้า เป็นบัวที่ต้องใช้พื้นที่ปลูกมาก และมีปัญหากอบัวหลุดลอยขึ้นสู่ผิวน้ำหากระดับน้ำที่ปลูกมีการเปลี่ยนขึ้นอย่างกระทันหัน
บัวกระด้ง ใบเหมือนกระด้งดอกบัวกระด้งสีขาวดอกบัวกระด้งสีบานเย็นขอบใบพับเหมือนกระด้ง

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ย่าหยา

พวงครามออสเตรเลีย

เรื่องน่ารู้และประโยชน์ของการปลูกดาวเรือง